สำหรับการเดินทางระยะสั้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินทางเพื่อกลับประชุมงาน หรือท่องเที่ยวแบบชั่วคราว ไม่ต้องถือสัมภาระมากนัก จึงมักไม่ซื้อน้ำหนักเพื่อโหลดกระเป๋าใต้เครื่อง บางครั้งการจัดสัมภาระให้ลงตัวในกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่อง (carry-on) จึงอาจเหมาะสมกว่า ทั้งในแง่ความคล่องตัวและค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถใช้กระเป๋าแบบเป้สะพายหลัง หรือกระเป๋าเดินทางล้อลากได้
หลายครั้งการเดินทางจำเป็นต้องพกโน้ตบุ๊ก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ แบตเตอรี่สำรอง สายชาร์จ ติดตัวไปด้วย จากที่เคยแบกเป้ ขอแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้กระเป๋าล้อลากแบบหิ้วขึ้นเครื่องแทน นอกจากเรื่องสุขภาพของหลังแล้ว ยังเอาของจุกจิกแบบสบู่ ยาสระผม ครีมทาผิว และอุปกรณ์ส่วนตัวเล็กน้อยขึ้นเครื่องได้มากขึ้น
ขนาด
ขนาด เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกกระเป๋าเพื่อถือขึ้นเครื่อง ตามหลักทั่วไปกระเป๋าที่สามารถถือขึ้นเครื่องได้ จะต้องมีขนาดไม่เกิน 20 นิ้ว โดยแต่ละสายการบินมีข้อกำหนดของขนาดกระเป๋าไม่เท่ากัน หากกระเป๋ามีขนาดใหญ่กว่าที่สายการบินกำหนด จะถูกบังคับให้โหลดใต้เครื่องไปเท่านั้น ไม่สามารถถือติดตัวขึ้นเครื่องได้
ดังนั้น หากจะเลือกซื้อกระเป๋าใบใหม่ อย่าลืมพกสายวัดไปด้วย วัดตั้งแต่ส่วนบนจนถึงล้อ (ไม่รวมการดึงคันชัก) บางครั้งในรายละเอียดของกระเป๋าที่แจ้ง อาจจะไม่รวมล้อ ลองวัดด้วยตัวเองเพื่อความแน่นอนดีกว่า
น้ำหนักและความจุ
นอกจากขนาดแล้ว น้ำหนักยังมีส่วนสำคัญในการเลือกซื้อกระเป๋า เพราะแต่ละสายการบินมีข้อกำหนดเรื่อง “น้ำหนัก” ของสัมภาระที่ต้องการนำติดตัวขึ้นเครื่องด้วย โดยส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ที่ 7 กิโลกรัม ดังนั้น หากเลือกซื้อกระเป๋า น้ำหนัก 5 กิโลกรัม จะเหลือความจุสำหรับใส่สัมภาระส่วนตัวเพียง 2 กิโลกรัมเท่านั้น
ปัจจุบัน ด้วยนวัตกรรมการผลิตที่ดีขึ้น กระเป๋าที่มีน้ำหนักเบากว่า 4 กิโลกรัมจึงมีให้เลือกมากขึ้น ลองเลือกกระเป๋าน้ำหนักเบาๆ ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
ข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน ทางคาจิโอนีรวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้
วัสดุและความทนทาน
กระเป๋าถือขึ้นเครื่อง มักจะอยู่ใกล้ตัว แตกต่างจากกระเป๋าเดินทางที่โหลดใต้เครื่อง ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเลือกจ่ายเงินแพงๆ สำหรับวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง เพราะกระเป๋าจะไม่ถูกโยนหรือมีการกระแทกหนักๆ สำหรับวัสดุและความทนทานของกระเป๋าถือขึ้นเครื่องขึ้นอยู่กับกระเป๋าเดินทางที่เลือกใช้ โดยทั่วไปแล้ว วัสดุของกระเป๋าแยกได้ 2 แบบกว้างๆ คือ แบบซอฟต์เคส (Soft Case) และแบบฮาร์ดเคส (Hard Case)
ซอฟต์เคส (Soft Case) กระเป๋าผ้า ด้วยความยืดหยุ่นของวัสดุผ้า หากกระแทกจะไม่ค่อยฉีกขาด โดยเฉพาะกระเป๋าสมัยใหม่มักใช้ผ้าสังเคราะห์ที่ทนทาน น้ำหนักเบา แต่อาจจะมีรอยเปื้อนคราบต่างๆได้ง่ายกว่า และเวลาลุยฝนหรือลุยหิมะ สัมภาระข้างในอาจชำรุดเสียหายได้
ฮาร์ดเคส (Hard Case) มักใช้วัสดุจำพวกพลาสติก ความยืดหยุ่นอาจน้อยกว่าแบบผ้า ระหว่างการเดินทาง อาจมีการเคลื่อนย้ายกระเป๋าโดยเจ้าของกระเป๋า หรือ พนักงานสายการบิน จะเกิดรอยได้ง่ายกว่าแบบผ้า ส่วนในแง่ความทนทานคงไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะวัสดุรุ่นใหม่ๆ ทนทานกว่าเดิม น้ำหนักเบาขึ้น แถมข้อดีของฮาร์ดเคสคือกันน้ำได้ดีกว่า และทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
ล้อลาก
ล้อลื่นๆ เสียงเงียบๆ น่าจะเป็นกระเป๋าเดินทางในฝันของนักเดินทาง เพราะล้อจะสามารถช่วยไม่ให้ต้องยกกระเป๋าถือขณะเดินทางให้ปวดหลัง ปวดไหล่ กระเป๋าเดินทางล้อลาก มีให้เลือก 2 แบบหลักๆ ดังนี้
กระเป๋า 2 ล้อ ขณะใช้งานต้องลากแบบเอียง ไม่สามารถลากด้านข้างได้ อาจจะลำบากหากต้องเดินในพื้นที่คับแคบ เช่นบนเครื่องบิน ทางเดินในรถไฟ แต่ยังมีข้อดีที่พื้นที่ใส่สัมภาระจะมากขึ้น และกระเป๋าไม่ไหลในทางลาดชัน
กระเป๋า 4 ล้อ กระเป๋าแบบนี้จะหมุนได้ 360 องศาเข็นไปด้านหน้า ด้านข้าง ถอยหลัง สะดวกต่อการเข็นในพื้นที่คับแคบและคนหนาแน่น แต่ข้อเสียของล้อลื่นๆ บางทีกระเป๋าจะไหลไปตามที่ลาด ต้องคอยระมัดระวัง
คันชัก / หูจับ
ตามมาตรฐานกระเป๋าเดินทาง คันชักจะต้องสามารถดึงขึ้นมาได้ถึงระดับเอวของผู้ใช้งาน หากต่ำ/สูงกว่า กระเป๋าจะกระแทกขาระหว่างเดิน ดังนั้น กระเป๋าควรปรับระดับได้เพื่อให้เหมาะสมกับส่วนสูงของผู้ใช้งาน
กระเป๋าเดินทางควรมีหูจับ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ในบางสถานที่ อาจไม่สามารถใช้งานล้อลากได้ต้องหิ้วกระเป๋าด้วยตนเอง ดังนั้น หูจับต้องมีความแข็งแรง แต่ไม่แข็งจนเกินไป เพราะหากต้องถือสัมภาระในระยะเวลานาน อาจจะเจ็บมือได้
ช่องเก็บของ
อย่ามองข้ามช่องเก็บของภายใน เพราะนั่นคือตัวช่วยในการจัดระเบียบสัมภาระให้เป็นหมวดหมู่ หยิบของใช้ได้สะดวก โดยทั่วไปกระเป๋าเดินทางมักจะแยกเป็น 2 ฝั่ง ด้านหนึ่งเป็นผ้าซิปที่มีฝาปิดทึบ อีกด้านหนึ่งเป็นสายรัดสัมภาระ แต่ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ ที่ทำแบบเป็นฝาปิดทึบทั้งสองด้าน และด้านนอกของฝา มีช่องแบ่งแยกให้อีกเป็นสัดส่วน ช่วยให้นักเดินทางจัดเก็บของได้ง่ายกว่าเดิม
พัฒนาไปมากกว่านั้น กระเป๋าเดินทางบางรุ่นมีช่องเปิดฝาหน้าแยกจากส่วนสัมภาระ สามารถใส่แล็บท๊อปที่ฝาด้านหน้า ลดกระเป๋าแล็บท๊อปไปได้อีก 1 ใบ โดยช่องใส่แล๊ปท๊อปมักจะถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้จริง มีการบุนวมเพื่อเพิ่มการป้องกันการกระแทก และเพิ่มช่องใส่ของแยกส่วนในช่องด้านหน้าได้อีก ถ้าเจอกระเป๋าที่ลงตัวแบบนี้อย่าพลาดที่จะซื้อไว้เป็นเจ้าของสักใบ
สนใจกระเป๋าเดินทางในภาพประกอบ Caggioni Espace
Comments